แผ่นระบายน้ำ
Drainage Cell

จำหน่าย Drainage Cell (แผ่นระบายน้ำ)
คุณภาพดี ราคาเป็นมิตร
การันตีความพึงพอใจ

Contact

ทำไมต้อง Matiply

คุณภาพดี

มั่นใจในคุณภาพ ด้วยมาตรฐานรับรองจาก SIRIM QAS International และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม Singapore Green Label

หลากหลายสเปค

Drainage Cell หลากหลายสเปค ตอบโจทย์หลากหลายการใช้งาน ทั้งด้านภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อม โยธา ฯลฯ

ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ Drainage Cell ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด

ราคาเป็นมิตร

หมดห่วงเรื่องต้นทุนสูง ด้วย Drainage Cell ราคาย่อมเยา ซึ่งเป็นผลจากการมีปัจจัยการผลิต และห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ

ไม่มีขั้นต่ำ

ซื้อแค่เท่าที่ใช้ หมดกังวลกับปัญหาวัตถุดิบเหลือใช้เยอะ และการหาที่เก็บ

ใส่ใจบริการ

วางใจได้ด้วยการบริการแบบมืออาชีพ จัดส่งเร็ว เอกสารพร้อม การันตีความพึงพอใจ

ข้อมูลผลิตภัณฑ์

Drainage cell แข็งแรงทนทาน ระบายน้ำได้ดี

ทนทานสูง ระบายน้ำได้ดี

Drainage Cell รุ่น DCX Series ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี มีความแข็งแรงทนทานสูง สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 100 ตัน/ตร.ม. และด้วยลักษณะโครงสร้างเฉพาะตัว ตัวแผ่นจึงสามารถระบายน้ำได้ดี เหมาะสำหรับใช้ในงานที่ต้องอาศัยการระบายน้ำใต้ดิน อย่างเช่น สวนดาดฟ้า สวนพื้นคอนกรีต สนามหญ้า เป็นต้น

Drainage cell มีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่นดี ติดตั้งง่าย

น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย

ตัวแผ่น Drainage Cell รุ่น DCX Series จะมีน้ำหนักเบา และยืดหยุ่นได้ดี ทำให้สามารถขนส่งและติดตั้งได้ง่าย ซึ่งนอกจากนี้แล้ว ขอบแผ่น Drainage Cell รุ่นนี้ จะยังมีตัวล็อคให้เชื่อมประกอบกันระหว่างแผ่นได้แบบง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรือเทคนิคยุ่งยากใดๆ อีกด้วย

Drainage cell เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Drainage Cell รุ่น DCX Series เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในแง่ของวัตถุดิบที่ใช้เทคโนโลยี Recycle ขั้นสูงเข้ามาช่วย และในแง่ของกระบวนการผลิตที่ผ่านการออกแบบเป็นพิเศษ เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ Drainage Cell รุ่น DCX นั้นได้รับการรับรอง Singapore Green Label ซึ่งเป็นการรับรองด้านสิ่งแวดล้อมจากประเทศสิงคโปร์

ถาม-ตอบ เรื่อง
Drainage Cell

Drainage Cell คืออะไร

Drainage Cell (แผ่นระบายน้ำ) คือแผ่นวัสดุสังเคราะห์ที่ใช้ทำระบบระบายน้ำใต้ดิน อย่างในกรณีของสวนดาดฟ้า กระบะปลูกพืช สนามกอล์ฟ สนามกีฬา งานปูหญ้าเทียม งานภูมิทัศน์บนพื้นคอนกรีต เป็นต้น

จุดเด่นของ Drainage Cell ก็คือพื้นผิวและโครงสร้างจะมีพื้นที่ช่องว่างอยู่มาก ทำให้สามารถระบายน้ำและความร้อนได้ดี แต่ในขณะเดียวกัน ตัววัสดุก็มีความทนทานและยืดหยุ่นสูง ทั้งยังมีน้ำหนักเบาอีกด้วย

Drainage Cell นั้นมักถูกใช้ร่วมกับ Geotextile (ทนทานสูง น้ำซึมผ่านได้) และ Geomembrane (ทนทานสูง น้ำซึมผ่านไม่ได้) ซึ่งด้วยคุณสมบัติการซึมผ่านของน้ำที่ต่างกัน วัสดุเหล่านี้จึงถูกใช้ผสมผสานกันเพื่อทำระบบระบายน้ำใต้ดินได้อย่างลงตัว

Drainage Cell มีจุดเด่นอะไรบ้าง

Drainage Cell มีจุดเด่นสำคัญดังนี้

  • น้ำหนักเบา สามารถขนย้ายและติดตั้งได้ง่าย
  • ระบายน้ำและความร้อนได้ดี ใช้ทำระบบระบายน้ำใต้ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทนทานสูง ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดี มีอายุการใช้งานยาวนาน
  • ราคาไม่แพง ราคาย่อมเยาและคุ้มประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับระบบระบายน้ำแบบอื่น
  • ใช้ได้หลากหลาย มีการใช้งานที่กว้าง สามารถใช้ในงานได้หลากหลายประเภท

Drainage Cell มีสเปคแบบไหนบ้าง

สเปคของ Drainage Cell ที่พบโดยทั่วไป ก็ได้แก่

วัสดุที่ใช้

Drainage Cell ส่วนใหญ่จะผลิตจากวัสดุสังเคราะห์ Polypropylene (PP) หรือ High Density Polyethylene (HDPE) เกรดคุณภาพ

ความหนา

Drainage Cell ที่ใช้โดยทั่วไปจะมีความหนาอยู่ในช่วง 20-30 มม. แต่ก็มีบางงานที่อาจต้องใช้ Drainage Cell ที่มีความหนามากกว่านี้ เช่น 50 มม.

ขนาด

Drainage Cell จะมีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม ซึ่งความกว้างและความยาวอาจแตกต่างกันไปบ้าง ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละราย โดยตัวอย่างขนาด Drainage Cell ที่พบได้บ่อยก็อย่างเช่น 500 × 500 มม.

Drainage Cell ราคาเท่าไหร่

หากอ้างอิงข้อมูลตาม “บัญชีราคาค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าแรงงาน และค่าครุภัณฑ์ประจำปีงบประมาณ 2568” ซึ่งจัดทำโดยคณะทำงานที่แต่งตั้งโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ราคากลางของ Drainage Cell จะอยู่ที่ 295 บาทต่อตารางเมตร

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลราคากลางนี้ได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับหน่วยงานในกรมเท่านั้น หากหน่วยงานอื่นหรือภาคเอกชนจะนำไปใช้ก็จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมตามดุลยพินิจของตน

ซึ่งทั่วไปแล้ว ราคาของ Drainage Cell ก็จะต่างกันและอาจแปรเปลี่ยนได้จากปัจจัยต่างๆ เช่น สเปค ปริมาณการสั่งซื้อ การขนส่ง สภาวะตลาด เป็นต้น

ทั้งนี้ ที่ Matiply เราเป็นผู้จำหน่าย Drainage Cell ในระดับต้นน้ำ จึงมีราคาที่ย่อมเยากว่าผู้จำหน่ายรายย่อยทั่วไป ซึ่งในกรณีที่สั่งซื้อในปริมาณมาก ก็จะยิ่งได้รับส่วนลดมากขึ้นไปอีก สำหรับผู้ที่สนใจก็สามารถติดต่อ Matiply เพื่อรับข้อมูลราคาตามสเปคและปริมาณการสั่งซื้อที่ต้องการได้โดยตรง

Drainage Cell ใช้ทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่างงานที่ใช้ Drainage Cell ในการทำระบบระบายน้ำก็อย่างเช่น

  • งานสวนดาดฟ้า
  • งานกระบะและพื้นที่ปลูกพืช
  • งานสนามกอล์ฟ
  • งานสนามกีฬา
  • งานปูหญ้าเทียม
  • งานภูมิทัศน์บนพื้นคอนกรีต
  • งานพื้นที่จอดรถใต้ดิน
  • งานกำแพงกันดิน
  • งานพื้นที่ฝังกลบ

Drainage Cell ใช้กับพื้นที่ปลูกพืชอย่างไร

สำหรับพื้นที่ปลูกพืชที่เป็นพื้นปูนหรือคอนกรีต (นิยมเรียกว่า Planter Box) อย่างพื้นที่ปลูกพืชบริเวณอาคาร บนดาดฟ้า หรือบนระเบียง ก็จะนิยมทำระบบระบายน้ำด้วย Drainage Cell ร่วมกับ Geotextile โดยจะมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้

  1. เตรียมพื้นที่ติดตั้ง ควรเป็นพื้นผิวเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยอาจติดตั้งเมมเบรนกันซึมก่อนหากจำเป็น แล้วปล่อยให้เซ็ตตัวจนสมบูรณ์
  2. ติดตั้ง Drainage Cell ดำเนินการติดตั้ง Drainage Cell ให้คลุมพื้นทั้งหมด รวมถึงคลุมบริเวณขอบโดยรอบให้สูงเท่าประมาณชั้นดินที่จะใส่ โดย Drainage Cell แต่ละแผ่นจะเชื่อมกันด้วยระบบ Interlocking ในกรณีที่ Drainage Cell บางส่วนมีขนาดไม่พอดี ก็จะต้องตัดโดยใช้คัตเตอร์ เลื่อย หรือเครื่องตัดตามความเหมาะสม
  3. ติดตั้ง Geotextile ดำเนินการติดตั้ง Geotextile ให้คลุม Drainage Cell ทั้งหมด รวมถึงบริเวณขอบ ระวังอย่าให้มีรอยรั่วโดยเฉพาะบริเวณที่ Geotextile แต่ละแผ่นคาบเกี่ยวกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ดินเข้าไปอุดตันในชั้น Drainage Cell ได้
  4. ลงดินในพื้นที่ปลูกพืช จบท้ายด้วยการลงดินในพื้นที่ปลูกพืช โดยอย่าให้เนื้อแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้น้ำระบายออกยาก และจะต้องมีความเหมาะสมกับพืชที่ปลูก เพียงเท่านี้การทำระบบระบายน้ำด้วย Drainage Cell และ Geotextile ในพื้นที่ปลูกพืชก็เสร็จสมบูรณ์

ชมคลิปตัวอย่าง : การติดตั้ง DCX-Drainage Cell ในกระบะต้นไม้ขนาดใหญ่

Drainage Cell ใช้กับหญ้าเทียมอย่างไร

การติดตั้งหญ้าเทียมบนพื้นปูนและพื้นคอนกรีต อย่างพื้นที่บริเวณอาคาร บนดาดฟ้า หรือบนระเบียง จะนิยมใช้ Drainage Cell ในการทำระบบระบายน้ำ เนื่องจากมีประสิทธิภาพดี มีน้ำหนักเบา มีความทนทานสูง ทั้งยังสามารถติดตั้งได้ง่าย

โดยขั้นตอนการติดตั้งคร่าวๆ ก็จะประกอบไปด้วย

  1. เตรียมพื้นผิว พื้นผิวที่ปูหญ้าเทียมจะต้องเรียบ ไม่ขรุขระหรือมีสิ่งกีดขวางใดๆ ก่อนติดตั้งควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย และอาจพิจารณาติดตั้งเมมเบรนกันซึมก่อนหากจำเป็น
  2. ติดตั้ง Drainage Cell จากนั้นให้ติดตั้ง Drainage Cell โดยสามารถเชื่อมแต่ละแผ่นได้อย่างสะดวกด้วยระบบ Interlocking สำหรับ Drainage Cell ส่วนที่เกินขอบพื้นที่ติดตั้งก็ให้ตัดด้วยคัตเตอร์ เลื่อย หรือเครื่องตัดตามความเหมาะสม กรณีที่เป็นพื้นที่ลมแรงก็ให้ใช้กาวเข้ามาช่วยยึดติดกับพื้นผิว
  3. ปูหญ้าเทียม ลงท้ายด้วยการปูหญ้าเทียม กรณีที่เป็นพื้นที่ลมแรงก็ให้ใช้เคเบิลไทร์เข้ามาช่วยยึด จากนั้นปล่อยให้เซ็ตตัวให้เรียบร้อยก่อนใช้ ซึ่งทั่วไปแล้วควรรออย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง หรือตามที่คู่มือระบุ กรณีที่มีการเติมทรายหรือเม็ดยางในภายหลังเพื่อเพิ่มความทนทานและช่วยให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น ก็จะต้องมีช่วงพักและขั้นตอนการดูแลที่เพิ่มขึ้นอีก

อ่านเพิ่มเติม : หญ้าเทียม วางระบบระบายน้ำอย่างไร ไม่ให้น้ำท่วมขัง