หญ้าเทียม วางระบบระบายน้ำอย่างไร ไม่ให้น้ำท่วมขัง

อัพเดท
โพสต์
by Matiply

หญ้าเทียมเป็นตัวเลือกการทำสนามหญ้าที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องด้วยข้อดีหลายประการ เช่น ดูแลง่าย ไม่ต้องคอยตัด รดน้ำ ให้ปุ๋ย หรือกำจัดวัชพืช เขียวได้ตลอดทั้งปี มีอายุการใช้งานยาวนาน และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม การติดตั้งหญ้าเทียมก็จะมีประเด็นในเรื่องของระบบระบายน้ำที่ต้องให้ความใส่ใจ เพราะหากมีปัญหาก็อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังและเกิดเชื้อราขึ้นใต้แผ่นหญ้าเทียมได้

น้ำขังบนหญ้าเทียมมีผลเสียกว่าที่คิด

ปัญหาน้ำท่วมขังบนหญ้าเทียมแม้บางคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่แท้จริงแล้วมีผลเสียและอันตรายมากกว่าที่คิด เพราะเป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดเชื้อราและการหมักหมมของเชื้อโรคต่างๆ ทั้งยังทำให้หญ้าเทียมมีอายุการใช้งานที่สั้นลง นอกจากนี้แล้ว น้ำที่ท่วมขังก็ยังทำให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มมากขึ้นอีกด้วย

หญ้าเทียมน้ำซึมผ่านได้ไหม

หญ้าเทียมทั่วไปแล้วจะถูกออกแบบมาให้น้ำซึมผ่านได้ เพื่อเลี่ยงปัญหาน้ำท่วมขัง อย่างไรก็ตาม การวางระบบระบายน้ำที่ดีก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น เพราะน้ำที่ซึมผ่านหญ้าเทียมลงไปท้ายที่สุดก็จะต้องสามารถถ่ายเทไปยังทางออกที่เหมาะสมได้ มิเช่นนั้นก็อาจเกิดน้ำท่วมขัง หรือเกิดความชื้นสะสมนานเกินไป

หญ้าเทียมควรวางระบบระบายน้ำอย่างไร

ระบบระบายน้ำสำหรับหญ้าเทียมจะมีอยู่หลายแบบด้วยกัน เช่น ระบบท่อเจาะรูแบบทั่วไป ระบบท่อเจาะรูแบบ French Drain เป็นต้น ซึ่งการเลือกใช้ก็จะต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย เช่น ปริมาณฝนและน้ำที่จะต้องเจอ ลักษณะของพื้นที่ติดตั้ง การใช้งานสนามหญ้าเทียม ฯลฯ

แต่สำหรับการติดตั้งหญ้าเทียมบนพื้นปูน อย่างพื้นที่อาคาร บนดาดฟ้า หรือบนระเบียง การใช้อุปกรณ์เฉพาะทางอย่าง Drainage Cell ก็เป็นวิธีที่ได้รับความนิยม เพราะมีประสิทธิภาพดี มีน้ำหนักเบา มีความทนทานสูง ทั้งยังสามารถติดตั้งได้ง่าย

โดย Drainage Cell จะเป็นแผ่นระบายน้ำที่ทำมาจากวัสดุสังเคราะห์ซึ่งมีความทนทานสูง ใช้ปูไว้ข้างใต้หญ้าเทียมเพื่อให้น้ำสามารถระบายออกได้อย่างสะดวก

การทำระบบระบายน้ำใต้หญ้าเทียมด้วย Drainage Cell

ขั้นตอนการทำระบบระบายน้ำด้วย Drainage Cell

ตัวอย่างการติดตั้งระบบระบายน้ำสำหรับหญ้าเทียมด้วย Drainage Cell จะมีขั้นตอนดังนี้

  1. เตรียมพื้นผิว พื้นผิวที่ปูหญ้าเทียมจะต้องเรียบ ไม่ขรุขระหรือมีสิ่งกีดขวางใดๆ ก่อนติดตั้งควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย และอาจพิจารณาติดตั้งเมมเบรนกันซึมก่อนหากจำเป็น
  2. ติดตั้ง Drainage Cell จากนั้นให้ติดตั้ง Drainage Cell โดยสามารถเชื่อมแต่ละแผ่นได้อย่างสะดวกด้วยระบบ Interlocking สำหรับ Drainage Cell ส่วนที่เกินขอบพื้นที่ติดตั้งก็ให้ตัดด้วยคัตเตอร์ เลื่อย หรือเครื่องตัดตามความเหมาะสม กรณีที่เป็นพื้นที่ลมแรงก็ให้ใช้กาวเข้ามาช่วยยึดติดกับพื้นผิว
  3. ปูหญ้าเทียม ลงท้ายด้วยการปูหญ้าเทียม กรณีที่เป็นพื้นที่ลมแรงก็ให้ใช้เคเบิลไทร์เข้ามาช่วยยึด จากนั้นปล่อยให้เซ็ตตัวให้เรียบร้อยก่อนใช้ ซึ่งทั่วไปแล้วควรรออย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง หรือตามที่คู่มือระบุ กรณีที่มีการเติมทรายหรือเม็ดยางในภายหลังเพื่อเพิ่มความทนทานและช่วยให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น ก็จะต้องมีช่วงพักและขั้นตอนการดูแลที่เพิ่มขึ้นอีก
YouTube player
YouTube player

บทสรุป

ระบบระบายน้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปูหญ้าเทียม เพราะแม้ว่าหญ้าเทียมทั่วไปแล้วจะมีคุณสมบัติน้ำซึมผ่านได้ แต่หากน้ำที่ซึมผ่านลงไปไม่มีทางออกรองรับอย่างเพียงพอ ก็จะทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง หรือเกิดความชื้นสะสมนานเกินไป ทำให้เกิดเชื้อราขึ้นใต้แผ่นหญ้าเทียม และทำให้หญ้าเทียมเสื่อมเร็วจนมีอายุการใช้งานที่สั้นลง

โดยการทำระบบระบายน้ำด้วย Drainage Cell ก็เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสำหรับงานปูหญ้าเทียมบนพื้นปูน เพราะมีประสิทธิภาพดี มีน้ำหนักเบา มีความทนทานสูง ทั้งยังติดตั้งง่าย ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งคร่าวๆ แล้วก็จะประกอบไปด้วยการเตรียมพื้นผิว การติดตั้งแผ่น Drainage Cell และจบท้ายด้วยการปูหญ้าเทียม

Matiply ผู้จัดจำหน่าย Drainage Cell คุณภาพดี

Matiply เป็นผู้จัดจำหน่าย Drainage Cell ตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆ ในด้านภูมิทัศน์วิศวกรรม (Landscape Engineering) เช่น Geotextile, Grass Paver, Geocell เป็นต้น

ซึ่งที่ Matiply เราคัดเลือกเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ จำหน่ายในราคาย่อมเยา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยผลักดันแนวคิดเมืองสีเขียว ให้ประเทศไทยมีความร่มรื่นน่าอยู่และมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น

หากท่านใดสนใจรับคำปรึกษาหรือสั่งซื้อผลิตภัณฑ์กับทาง Matiply ก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ ทาง Matiply ยินดีให้บริการค่ะ